วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ระบบการชําระเงินอิเล็กทรอนิกส์

ระบบการชำระเงินคืออะไร         ระบบการชำระเงินหมายถึงกระบวนการส่งมอบหรือโอนสื่อการชำระเงินเพื่อชำระราคา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
        (1) องค์กรและบุคคล หมายถึง ผู้จ่ายเงิน ผู้รับเงิน และองค์กรที่เป็นตัวกลางใน การชำระเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน เป็นต้น
        (2) กระบวนการดำเนินการภายใต้กฎหมาย ระเบียบ ข้อตกลง กฎเกณฑ์ ธรรมเนียมปฏิบัติ ที่กำหนดบทบาท หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและบุคคลต่าง ๆ รวมถึงกลไกการชำระเงินที่เกี่ยวข้อง
        (3) สื่อการชำระเงินประเภทต่าง ๆ เช่น เงินสด ตราสารการเงิน บัตรพลาสติก การโอนเงินทางบัญชี ตลอดจนถึงการชำระเงินด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ระบบการชำระเงินมีกี่ประเภท อะไรบ้าง         เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ ระบบการชำระเงินอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือระบบการชำระเงินด้วยเงินสด และระบบการชำระเงินด้วยสื่อการชำระเงินประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินสด
        ระบบการชำระเงินด้วยเงินสดจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่าง ๆ เช่น การจัดพิมพ์ธนบัตร การนำธนบัตรออกใช้ การรับและจ่ายเงินสดระหว่างธนาคารกลาง สถาบันการเงิน และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการตรวจคัดธนบัตรชำรุดออกไปทำลาย และพิมพ์ธนบัตรใหม่ขึ้นทดแทนเป็นต้น
        ส่วนการชำระเงินด้วยสื่อการชำระเงินที่มิใช่เงินสด จำแนกได้เป็นการใช้สื่อการชำระเงินที่เป็นตราสาร เช่น เช็ค ดร๊าฟท์ ตั๋วแลกเงิน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับผู้สั่งจ่าย ผู้ทรงเช็ค ธนาคารที่เกี่ยวข้อง ระบบหรือวิธีการแลกเปลี่ยนเช็คระหว่างธนาคาร ตลอดจนกฏหมายเกี่ยวกับการใช้เช็คเป็นต้น สำหรับสื่อการชำระเงินที่มิใช่ตราสารเช่นระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะเกี่ยวข้องกับบุคคล สถาบันการเงิน รวมถึงระบบการโอนเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และระเบียบวิธีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องเป็นต้น



ระบบการชำระเงินมีความสำคัญอย่างไร        ระบบการชำระเงินมีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือที่หล่อลื่นกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พัฒนาระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์ให้ระบบการชำระเงินของประเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการมีระบบอะไรบ้าง        มี 3 ระบบได้แก่
        1. ระบบการโอนเงินรายใหญ่ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ระบบ BAHTNET
        2. ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ระบบ ECS
        3. ระบบการโอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคาร หรือ ระบบ Media Clearing


ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์(E-Payment)
ในชีวิตประจำวันของประชาชนมีความเกี่ยวข้องกับการชำระเงินอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้า/บริการ การโอนเงิน หรือการทำธุรกรรมการเงินอื่นใด การขยายตัวของเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การบริการด้านการชำระเงินมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยรูปแบบการชำระเงินมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น การให้บริการมีความรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและประชาชน และมีผู้ให้บริการรายใหม่ๆ เกิดขึ้น รวมทั้งมีการนำเอากระบวนการชำระเงินเข้าไปในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกกันว่า ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment)

Electronic Payment system (ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์) คือ กระบวนการส่งมอบหรือโอนสื่อการชำระเงินเพื่อชำระราคา  โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม โทรสาร โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ขั้นตอนการชำระเงิน

1.ตกลงซื้อสินค้า กรอกข้อมูลบัตรเครดิต *ข้อมูลส่วนนี้ทางร้านไม่สามารถเห็นได้
2.ส่งข้อมูลไปยัง Acquiring Bang (ธนาคารที่ฝ่ายร้านค้าใช้บริการอยู่)
3.Acquiring Bang ทำการตรวจสอบมายังธนาคารผู้ออกบัตร ว่าบัตรเป็นของจริงและสามารถใช้ได้
4.Acquiring Bang ทำการเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ออกบัตรz
5.ธนาคารผู้ออกบัตรโอนเงินไปยัง Acquiring Bang เข้าสู่บัญชีร้านค้า
6.ส่งข้อมูลการชำระกลับไปยังร้านค้า
7.ร้านค้าส่งข้อมูลการชำระกลับไปยังลูกค้า เพื่อยืนยันการสั่งซื้อ

 
(E-Payment) มีกระบวนการการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากที่สุด ดังนี้
1.สั่งซื้อและส่งข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตไปให้ผู้ขาย
2.ผู้ขายยืนยันส่งข้อมูลการสั่งซื้อกลับมายังผู้ซื้อ
3.ผู้ขายรับข้อมูลการสั่งซื้อ(มองไม่เห็นเลขบัตรเครดิต)
4.ผู้ขายส่งข้อมูล Encrypted Payment ไปยังเครื่องบริการด้านการจ่ายเงินทาง online (Cyber Cash Server)
5.Cyber Cash Server รับข้อมูลผ่านทาง Fire wall ถอดรหัสข้อมูลลูกค้าและส่งไปยังธนาคารผู้ขายและผู้ซื้อ
6.ธนาคารผู้ขายร้องขอให้ธนาคารผู้ซื้อรับจ่ายเงินตามจำนวนเงินตามยอดบัตรเครดิต
7.ธนาคารผู้ซื้อตรวจสอบข้อมูล แล้วส่งกลับไปว่าอนุมัติหรือไม่ และ transfer ยอดเงินให้ผู้ขาย
8.Cyber Cash Server รับข้อมูลส่งต่อไปยังผู้ขายเพื่อส่งข้อมูลไปยังผู้ซื้อต่อไปปัจจัยสู่ความสำเร็จ

 
ปัจจัยแห่งความสำเร็จมี 4 ประเด็น คือ

(1) การบริการลูกค้า เทคโนโลยีต้องเข้าถึงได้ง่ายและเป็นมิตรกับประชาชน ลดขั้นตอนทางราชการที่ยุ่งยากซับซ้อน ให้สารสนเทศที่ทันสมัยและตรงกับความต้องการ
(2) การออกแบบและประเมินผล บริการต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและรักษาระบบให้มีเสถียรภาพแม้ในภาวะวิกฤติ กำหนดนโยบายและกระบวนการรับข้อร้องเรียนที่ชัดเจน ติดตามผลและปรับปรุงระบบช่วยสร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง
(3) ความมั่นคง-ปลอดภัย บริการต้องอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมออนไลน์ และให้ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคล
(4) การเห็นคุณค่าและความสำคัญ บริการที่ดีต้องถูกให้ความสำคัญในลำดับสูงสุดจากทุกภาคส่วน ผู้นำประเทศ นักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ระดับสูง และพนักงานของรัฐ ต้องให้การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และตอบข้อสงสัยแก่ประชาชนผ่านการสื่อสารสองทางอย่างประสิทธิภาพ
(5) การรักษาความปลอดภัย

 


ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements) มีองค์ประกอบ ดังนี้1.ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)
2.ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)
3.ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)
4.สิทธิส่วนบุคคล (Privacy)

วิธีการรักษาความปลอดภัย 

• การใช้รหัส (Encryption)
• ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)
• โปรโตคอล (Protocols
)

ประโยชน์ e-payment ในองค์กร
1.การสั่งชำระเงิน และการรับชำระเงินมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
         ด้วยระบบ E - Pay ท่านไม่จำเป็นต้องเดินทางไปชำระเงินด้วยวิธีการเดิมๆ อีกต่อไป ท่านสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร และเวลาที่เสียไปจากการเดินทางรวมถึงความเสี่ยงจากการถือเงินสด เป็นต้น
2.เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารการเงิน
         เนื่องจากการบริการ E - Pay เป็นการชำระเงินแบบ Online และ Real Time จึงเพิ่มความสะดวกในกรณีที่ท่านต้องการสั่งชำระเงินเป็นกรณีเร่งด่วนโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางเพื่อไปชำระเงินเหมือนระบบเดิม โดยผู้รับเงินสามารถรับเงินและนำเงินไปบริหารต่อได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 นาที โดยไม่ต้องรอการเคลียร์ริ่งของธนาคาร ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเงินสดของบริษัทอีกทางหนึ่ง
3.ลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลการทำรายการ
        ระบบ E - Pay จะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาใช้ เช่น เลขที่บัญชีผู้มีอำนาจในการสั่งจ่าย ,
วงเงินในการสั่งจ่าย เป็นต้นทำให้ท่านสามารถทำงานได้รวดเร็วและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดพิมพ์เอกสารได้ทำให้การดำเนินงานทางด้านบัญชีและการเงินของบริษัทจึงมีความสะดวก รวดเร็ว
และถูกต้องมากยิ่งขึ้น
 4.การยืนยันการตัดบัญชีและการนำเงินเข้าบัญชี
ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้สั่งชำระเงิน หรือรับชำระเงินก็จะได้รับข้อความยืนยันการตัดบัญชี (Debit Advice) และข้อความยืนยันการนำเงินเข้าบัญชี (Credit Advice) จากธนาคารผ่านระบบ E - Payเมื่อรายการชำระเงินเสร็จสมบูรณ์โดยท่านไม่ต้องสอบถามผลของการทำรายการไปที่ธนาคารโดยตรง
5.เสริมสร้างความคล่องตัวในการทำงาน
ท่านสามารถเลือกใช้บริการกับธนาคารต่างๆ ที่เข้าร่วมให้บริการ หรือเปลี่ยนแปลงไปใช้ธนาคารอื่นในภายหลังก็ทำได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องเปลี่ยนโปรแกรมหรือขั้นตอนการทำงานแต่อย่างใด

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (Material Requirement Planning; MRP)

การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (Material Requirement Planning; MRP)
  ในการวางแผนความต้องการวัตถุดิบนั้น เป็นการวางแผนการผลิตและควบคุมวัตถุดิบที่อาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย หรือเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการวางแผนความต้องการตามช่วงเวลา (Time Phase Requirement Planning) MRP จะเกี่ยวข้องกับการจัดตารางการผลิต และควบคุมวัสดุคงคลัง โดยทำหน้าที่เป็นกลไกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตารางการผลิต เมื่อมีการทบทวนแผนงานเกิดขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยทำให้การคงคลังมีระดับต่ำสุด และมีวัตถุดิบไว้ใช้อย่างพอเพียงเมื่อต้องการ โดยจุดประสงค์หลักของระบบ MRP มีดังนี้ (พิภพ ลิลตาภรณ์, 2545)
                 1) ทำให้เกิดความมั่นใจว่ามีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ใช้อย่างพอเพียง เช่น วัตถุดิบส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์ที่ได้วางแผนการผลิตไว้ และที่จะต้องจัดส่งให้ลูกค้า
                 2) ทำให้มีการคงไว้ซึ่งระดับการคงคลังในปริมาณที่ต่ำสุดตลอดเวลา
                 3) เพื่อการวางแผนการผลิตตารางการจัดส่งและการจัดซื้อ
          การวางแผนการสั่งและการเปลี่ยนแปลงตารางการสั่งเพื่อรองรับความต้องการในระดับต่ำ สำหรับช่วงของเวลาที่ต้องการนั้น จะเป็นการกำหนดระยะเวลา (Time Period) ที่งานจะต้องเสร็จ (หรือการจัดวัสดุไว้ให้พร้อม) และพร้อมที่จะจัดส่งในรูปของผลิตภัณฑ์สุดท้าย (End Item) ตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในตารางการผลิตหลัก
          ปัจจัยหลักของระบบ MRP จะประกอบไปด้วยตารางการผลิตหลัก (Master Production Schedule), บันทึกการคงคลัง (Inventory Structure Records) และบันทึกโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ (Production Structure Records: MPS) ถ้าปารศจากปัจจับพื้นฐานดังกล่าวนี้แล้ว ระบบ MRP จะไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ในตารางการผลิตหลักและแสดงถึงแผนการผลิตของผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Finish Goods) ในขณะที่บันทึกวัสดุคงคลังจะบอกถึงรายละเอียดทั้งหมดของวัสดุ ส่วนประกอบ หรือส่วนประกอบย่อยที่ต้องการของแต่ละผลิตภัณฑ์สุดท้าย นอกจากนั้นบันทึกการคงคลังจะบอกสถานการณ์ของายการ การคงคลังทั้งที่มีอยู่บนมือ (On Hand) และที่อยู่ในสถานะระหว่างการสั่งซื้อ (On Order)
          อุปสงค์สำหรับผลิตภัณฑ์สุดท้าย จะถูกกำหนดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และจะถูกบันทึกลงในตารางการผลิตหลัก (MPS) ซึ่งในตารางการผลิตหลักจะแสดงถึงปริมาณและเวลาของแต่ละรายการที่ต้องการ การวางแผนสำหรับ MPS ควรจะนานพอที่จะครอบคลุมถึงเวลานำของการจัดหาและการผลิต สำหรับส่วนประกอบ และการประกอบของผลิตภัณฑ์สุดท้าย
          MRP จะเป็นตัวกำหนดรายการที่จะต้องสั่งซื้อ และจำนวนที่ต้องใช้ในช่วงเวลาที่จะมีการผลิตสำหรับรายการสุดท้าย แผนการสั่ง (Order Release) จะระบุถึงปริมาณและเวลา ซึ่งอาจจะเป็นใบสั่งงาน (Work Order) ที่จ่ายออกไปในโรงงานหรือการสั่งซื้อกับผู้จัดจำหน่าย MRP นอกจากจะเป็นเครื่องมือวางแผน และจัดตารางอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ระบบ MRP ยังสามารถทำนายการขาดแคลนหรือส่วนเกินของวัสดุได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
          นอกจากนั้น MRP ยังสามารถทำให้รู้ถึงอุปสงค์และอุปทานที่ไม่สอดคล้องในช่วงเวลาใด ๆ MRP สามารถช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่ต้องการ และเสร็จสิ้นในเวลาเดียวกับวันครบกำหนดส่ง (Due Date) ซึ่งเป็นผลห้าการลงทุนด้านการคงคลังมีค่าใช้จ่ายต่ำ ถ้าในกรณีที่ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการประกอบ จัดหามาได้ไม่ทันตามแผนที่ได้วางไว้ MRP ก็สามารถช่วยจัดตารางความต้องการกับส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ต้องใช้ประกอบร่วมกันให้เปลี่ยนไปอยู่ในวันถัดไป และทำการจัดลำดับตารางงานเสียใหม่
          MRP เป็นวิธีการที่นำมาใช้กับงานประเภทการสร้าง (Fabricate) แบะการประกอบ (Assembly) ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการประกอบจะหมายถึงการรวบรวมเอาชิ้นส่วนต่าง ๆ (Parts) หรือส่วนประกอบย่อย (Subassemblies) มารวมเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นยังมีคำที่คล้ายกันกับการประกอบนั่นก็คือ การประกอบย่อย ซึ่งจะเป็นการประกอบเช่นเดียวกัน แต่อยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป (Higher-level) คำว่า “ส่วนประกอบ” ที่ใชใน MRP จะหมายถึงรายการคงคลังทั้งหมดที่อยู่ต่ำกว่าระดับผลิตภัณฑ์ (Product Level) ซึ่งจะรวมถึงส่วนประกอบย่อย ชิ้นส่วนและวัตถุดิบ (ทั้งที่ผลิตขึ้นเองหรือซื้อจากผู้จัดจำหน่าย) แต่ใน MRP จะพิจารณาเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างการประกอบกับส่วนประกอบเท่านั้น ส่วนคำอื่น ๆ  เช่น การประกอบย่อย ชิ้นส่วนที่สร้างขึ้น ชิ้นส่วนที่ซื้อมา หรือวัตถุดิบ จะถูกรวมอยู่ภายใต้หัวข้อย่อยของส่วนประกอบทั้งสิ้น
          ในรายการวัสดุ จะระบุถึงชื่อรายการต่าง ๆ หรือวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตรายการสุดท้ายหรือผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นยังแสดงถึงลำดับขั้นตอนในการผลิต ตลอดจนปริมาณที่ต้องใช้ในและรายการ เพื่อที่จะนำไปประกอบเป็นรายการหลัก (Parent assembly) รายการต่าง ๆ นั้น ได้แก่ ส่วนประกอบย่อย ชิ้นส่วน และวัตถุดิบ ความถูกต้องของใบรายการวัสดุ เป็นสิ่งจำเป็นในการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด สำหรับรายละเอียดของข้อมูลที่มีอยู่ใน BOM คือหมายเลขชิ้นส่วน ปริมาณที่ต้องการ หน่วยที่ใช้วัด และลักษณะเฉพาะอื่น ๆ MRP จะดำเนินไปไม่ได้ถ้าขาดโครงสร้างของใบรายการวัสดุ ทั้งนี้เพราะไม่อาจจะแปลตารางการผลิตหลักให้เป็นจำนวนความต้องการทั้งหมดในระดับที่ต่ำกว่ารายการสุดท้ายได้
          โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว BOM สำหรับผลิตภัณฑ์จะบอกถึงโครงสร้างโดยแสดงส่วนประกอบทั้งหมดที่จะประกอบเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย โครงสร้างของ BOM จะไม่เพียงแต่กำหนดส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังบอกถึงขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละระดับจะแสดงถึงความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่ง
          วิธีการวางแผนความต้องการวัสดุจะนำไปใช้ในการจัดการของคงคลังและควบคุมปริมาณการผลิตของชิ้นส่วนต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป สำหรับวิธีการควบคุมของคงคลังแบบเดิมจะพิจารณาชิ้นส่วนของแต่ละรายการแยกเป็นอิสระจากกันและจะใช้ระดับการสั่งซื้อใหม่ (Re-order Points) เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าเมื่อไรจึงควรสั่งซื้อ สำหรับการวางแผนความต้องการวัสดุก็เพื่อหลีกเลี่ยงของคงคลังขาดแคลน ซึ่งจะทำให้การผลิตสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นเป็นไปตามแผนและลดต้นทุนในวัตถุดิบและของคงคลังที่เป็นงานระหว่างการผลิต และปัจจุบันการวางแผนสามารถทำได้ง่ายมากขึ้นโดยการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจึงทำให้การวางแผนความต้องการวัสดุ ได้รับความนิยมนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น
          การวางแผนความต้องการวัสดุมีวัตถุประสงค์หลักสองประการคือ คำนวณความต้องการวัสดุ และปฏิบัติตามลำดับก่อนหลังให้เป็นปัจจุบัน
                 1) คำนวณความต้องการวัสดุ เป็นวัตถุประสงค์ของการวางแผนการผลิตและควบคุมการผลิตที่ต้องการ วัสดุที่ถูกต้อง ปริมาณที่ถูกต้อง และเวลาที่ถูกต้อง เพื่อให้วัสดุที่เพียงพอกับการผลิตสินค้าวัตถุประสงค์ของระบบ MRP นี้เป็นการคำนวณหาความต้องการชิ้นส่วนเพื่อผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับตารางการผลิตหลัก และการกำหนดเวลานำจะสามารถคำนวณหาช่วงเวลาที่เป็นไปได้ที่ชิ้นส่วนที่สั่งซื้อหรือสั่งผลิตจะมาส่ง โดยสรุปแล้วจะคำนวณหาสิ่งต่อไปนี้
                        - สั่งซื้ออะไร
                        - สั่งซื้อจำนวนเท่าไร
                        - สั่งชื้อเมื่อไร
                        - กำหนดส่งเมื่อไร
                  2) ปฏิบัติตามความสำคัญให้เป็นปัจจุบัน ความต้องการวัสดุ และการจัดหาชิ้นส่วนมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน ลูกค้าสั่งชื้อหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งชื้อ ชิ้นส่วนถูกใช้มากกว่ากำหนด ผู้ขายส่งของล่าช้า เกิดความเสียหาย ความสมบูรณ์ของคำสั่งชื้อ และเครื่องจักรหยุดทำงาน ในการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในระบบ MRP จะต้องสามารถปรับเปลี่ยนลำดับความสำคัญก่อนหลังเพื่อที่จะทำให้เป็นปัจจุบัน โดยทั่วไปอุปสงค์อิสระมักจะมีลักษณะค่อนข้างคงที่และต่อเนื่องถ้าไม่พิจราณาดัชนีฤดูกาล ส่วนอุปสงค์ตามมักจะลักษณะไม่ต่อเนื่อง คือจะมีความต้องการเป็นช่วงๆ ดังแสดงในภาพที่ การบริหารสินค้าคงเหลือด้วยแบบ EOQ เหมาะกับอุปสงค์อิสระ ส่วน MRP จะเหมาะกับอุปสงค์ตาม



รูปที่ 1 เปรียบเทียบความต้องการที่ไม่ขึ้นอยู่กับวัสดุอื่น และขึ้นอยู่กับวัสดุอื่น


        ระบบ MRP เป็นวิธีการที่เหมาะสมในการหาจำนวนวัสดุ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบ ที่เป็นอุปสงค์ตามเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามจำนวนและเวลาที่กำหนดตามตารางการผลิต ด้วยสาเหตุนี้เองจึงทำให้ระบบ MRP เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการอุตสาหกรรม
          การหาปริมาณของการสั่งซื้ออย่างประหยัด (Economic Order Quantity) และระบบการจัดการเกี่ยวกับของคงคลัง ซึ่งระบบของคงคลัง ระบบหนึ่งที่จะขออ้างถึง คือ ระบบปริมาณการสั่งซื้อคงที่ (Fixed Order Size System) เมื่อ Q คือปริมาณที่สั่งซื้อในแต่ละครั้ง ดังนั้นเมื่อไม่มีการกำหนดของคงคลังสำรอง (Safety Stock) ปริมาณ Q ก็คือ ปริมาณของคงคลังสูงสุดและจุดการสั่งซื้อจะพิจารณา เมื่อของในคลังตกลงมาถึงระดับของการสั่งซื้อใหม่ที่ได้คำนวณไว้สถานการณ์ ดังกล่าวอยู่ภายใต้ ข้อสมมติฐานที่ว่า อัตราการใช้ของคงคลังเป็นไปอย่างคงที่และสม่ำเสมอตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริงความต้องการจะเกิดขึ้นเป็นช่วงไม่สม่ำเสมอ วิธีการที่ดีกว่า คือ การสั่งให้เท่ากับปริมาณที่ต้องการจริง และการสั่งนั้นจะต้องทำให้ของคงคลังส่งทันเวลากับความต้องการที่เกิดขึ้น ซึ่งแนวความคิดที่กล่าวมานี้ นับได้ว่าเป็นหัวใจของการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (MRP) ในขั้นต่อไป จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการบริหารของคงคลังตามระบบปริมาณการสั่งซื้อคงที่หรือระบบจุดสั่งซื้อ และระบบ MRP โดยแสดงให้เห็นดังตารางที่ 1



ตารางที่ 1 ความแตกต่างระหว่างระบบการวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP) และระบบจุดสั่งซื้อ

ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time System หรือ JIT)

JIT ระบบทันเวลาพอดี ย่อมาจากคำว่า Just-in-time ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นระบบการส่งมอบ วัตถุดิบ สินค้า หรือบริการ มาถึงผู้ใช้ในเวลาที่ต้องการ และจำนวนที่ต้องการใช้เท่านั้น ระบบทันเวลาพอดี อาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น ระบบสินค้าคงคลังเท่ากับศูนย์ (Zero Inventory) หรือ ระบบการผลิตที่ไม่มีสินค้าคงคลัง (Stockless Production) หรือ ระบบสั่งวัสดุเมื่อต้องการ (Material as needed) โดยส่วนใหญ่ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น โรงงานผลิตรถยนต์


คุณสมบัติของระบบ JIT
  • ช่วยลดสินค้าคงคลัง ทำให้ลดขนาดพื้นที่ในการเก็บ
  • สามารถกำหนดเวลาในการรับของได้
  • ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลัง การหยิบ การยกขน
  • ลดเวลาในการจัดเรียง การจัดเก็บสินค้า
ลักษณะของระบบ JIT
  • การไหลของวัสดุ เป็นแบบดึง (ภาษาอังกฤษ:Pull Method) หมายถึง การผลิตสินค้าเมื่อมีความต้องการ ทำให้มีจำนวนสินค้าคงคลังต่ำ เหมาะกับการผลิตที่มีลักษณะสินค้าเหมือนๆกัน เนื่องจากสามารถควบคุมสินค้าคงคลังได้ง่าย
  • สั่งซื้อวัสดุจำนวนน้อยในแต่ละครั้ง (ภาษาอังกฤษ:Small Lot Size Ordering) หมายถึง การกำหนดการสั่งซื้อเท่ากับปริมาณที่จะใช้ในการผลิต ทำให้มีสินค้าคงคลังต่ำ แต่ก็มีข้อเสียเช่น หากเป็นการผลิตที่ไม่ใช้วัสดุนั้นเป็oประจำจะทำให้การสั่งซื้อมีปริมาณน้อย เป็นการสั่งซื้อย่อย ย่อมมีต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มในวัสดุนั้น หากเป็นการผลิตที่ต้องมีการปรับตั้งเครื่องจักรบ่อยๆครั้ง ก็อาจทำให้เสียเวลามากขึ้น เป็นต้น
  • การผลิตแบบอัตโนมัติ (ภาษาอังกฤษ:Automated Production) การผลิตแบบอัตโนมัติมีความสัมพันธ์กับการจัดส่งแบบทันเวลาพอดีอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ดังนั้นการกำหนดแผนงาน เวลา ปริมาณการใช้วัสดุต้องสัมพันธ์กัน
  • การทำงานคงที่ (ภาษาอังกฤษ:Workstation Stability) การวางแผนการทำงานที่ดี ทำให้จุดการทำงานหรือสถานีการทำงานได้รับงานในลักษณะคงที่ในแต่ละวัน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
  • มีความสัมพันธ์กับผู้จัดส่งที่ดี (ภาษาอังกฤษ:Good Relation) โดยส่วนใหญ่การจัดส่งแบบทันเวลาพอดี มักไม่เปลี่ยนตัวคู่ค้า หรือผู้จัดส่งบ่อยๆ เพื่อให้การจัดส่งเป็นไปอย่างราบรื่น และไว้ใจได้

ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time System หรือ JIT)


     การผลิตแบบ Just In Time หรือ JIT  คือ การผลิตหรือการส่งมอบสิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ โดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ ซึ่งหมายรวมถึงบุคคลากรในส่วนงานต่าง ๆ ที่ต้องการงานระหว่างทำ (Work In Process) หรือวัตถุดิบ (Raw Material) เพื่อให้เกิดการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้วัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นในรูปของวัตถุดิบ (Raw Material), งานระหว่างทำ (Work In Process) และสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) กลายเป็นศูนย์


โดยวัตถุประสงค์ของการผลิตแบบทันเวลาพอดีคือ
     1. ต้องการควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Inventory)
     2. ต้องการลดเวลานำหรือระยะเวลารอคอยในกระบวนการผลิตให้น้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Lead Time)
     3. ต้องการขจัดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตให้เป็นศูนย์ (Zero Failures)
     4. ต้องการขจัดความสูญเปล่าในการผลิตดังต่อไปนี้

        - การผลิตมากเกินไป : ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ถูกผลิตมากเกินความต้องการ
        - การรอคอย : วัสดุหรือข้อมูลสารสนเทศ หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวหรือติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก
        - การขนส่ง : มีการเคลื่อนไหวหรือมีการขนย้ายวัสดุในระยะทางที่มากเกินไป
        - กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ : มีการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น
       
- การมีวัสดุหรือสินค้าคงคลัง : วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีเก็บไว้มากเกินความจำเป็น
        - การเคลื่อนไหว : มีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน
        - การผลิตของเสีย : วัสดุและข้อมูลสารสนเทศที่ไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ 



        ยกตัวอย่าง   JIT มีบทบาทกับเราอย่างไร เอาเป็นเรื่องของการนัดสัมภาษณ์งานก็แล้วกัน เช่น เมื่อบริษัทต้องการที่จะนัดเราสัมภาษณ์งานในเวลา 10:00 น. นั่นหมายถึงว่าผู้สัมภาษณ์หรือผู้บริหารที่จะมาสัมภาษณ์เราได้มีการวางตารางงานเอาไว้แล้ว ว่าช่วงเวลานั้นจะเป็นช่วงเวลาที่สะดวก เขาจะไม่นัดให้มาก่อนหน้านั้น เพราะไม่อยากให้มาสัมภาษณ์งานต้องรอนาน และเขาก็ไม่อยากให้เรามาสายเพราะเนื่องจากผู้สัมภาษณ์ก็ไม่ต้องการมานั่งรอที่จะสัมภาษณ์งานด้วย และผู้สัมภาษณ์ก็อาจจะมีภาระงานอื่นที่ต้องทำเช่นกัน ฉะนั้นคำว่า Just In Time ก็จะมีความหมายถึงการตรงต่อเวลา ไม่เร็วและไม่สายเกินกว่าเวลาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการรอคอย ได้เป็นอย่างดี
ทีนี้เราลองมาดูกันในส่วนของข้อดีและข้อเสียของระบบ JIT กันดีกว่า


 ผลกระทบจากการผลิตแบบทันเวลาพอดี


     1. ปริมาณการผลิตขนาดเล็ก ระบบ JIT จะพยายามควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดเพื่อไม่ก่อนให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บและต้นทุนค่าเสียโอกาส จึงผลิตในปริมาณที่ต้องการเท่านั้น
     2. ระยะเวลาการติดตั้งและเริ่มดำเนินงานสั้น ผลจากการลดขนาดการผลิตให้เล็กลง ทำให้ฝ่ายผลิตต้องเพิ่มความถี่ในการจัดการขึ้น ดังนั้น ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตจึงต้องลดเวลาการติดตั้งให้สั้นลงเพื่อไม่ให้เกิดเวลาว่างเปล่าของพนักงานและอุปกรณ์และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่
    3. วัสดุคงคลังในระบบการผลิตลดลง เหตุผลที่จำเป็นต้องมีวัสดุคงคลังสำรองเกิดจากความไม่แน่นอน ไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวน การผลิต ระบบ JIT มีนโยบายที่จะขจัดวัสดุคงคลังสำรองออกไปจากกระบวนการผลิตให้หมด โดยให้พนักงานช่วยกันกำจัดปัญหาความไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้น
   4. สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้อย่างทั่วถึง โดยผู้ปฏิบัติงานจะเป็นผู้ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพด้วยตนเอง



  ประโยชน์ที่เกิดจากการผลิตแบบทันเวลาพอดี


   1. เป็นการยกระดับคุณภาพสินค้าให้สูงขึ้นและลดของเสียจากการผลิตให้น้อยลง เนื่องจากเมื่อชิ้นงานเสร็จก็จะส่งไปยังคนต่อไปทันที และเมื่อพบข้อบกพร่องก็จะรีบแจ้งให้คนงานที่ผลิตทราบทันทีเพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกต้อง จึงทำให้คุณภาพสินค้าดีขึ้น ซึ่งต่างจากการผลิตครั้งละมาก ๆ ที่คนงานมักไม่ค่อยสนใจข้อบกพร่องของชิ้นงานแต่จะรีบส่งต่อทันทีเพราะยังมีชิ้นส่วนที่ต้องผลิตต่ออีกมาก
   2. ตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็ว เนื่องจากการผลิตมีความคล่องตัวสูง การเตรียมการผลิตใช้เวลาน้อยและสายการผลิตก็สามารถผลิตสินค้าได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ทำให้สินค้าสำเร็จรูปคงคลังเหลืออยู่น้อยมาก การพยากรณ์การผลิตก็แม่ยำขึ้น ผู้บริหารไม่ต้องเสียเวลาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในโรงงาน ทำให้มีเวลาเลือสำหรับการกำหนดนโยบาย วางแผนการตลาด หรือทำเรื่องอื่น ๆ มากขึ้นด้วย
  3. คนงานจะมีความรับผิดชอบต่องานของตนเองและงานของส่วนรวมสูง เนื่องจากจะต้องผลิตสินค้าที่ดี มีคุณภาพสูง ส่งต่อให้คนงานคนต่อไป คนงานทุกคนต้องช่วยกันแก้ปัญหาเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในการผลิต เพื่อไม่ให้เกิดการหยุดชะงักเป็นเวลานาน

ก็เป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่นำมาฝากกันในสัปดาห์นี้ ส่วนในสัปดาห์หน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้นโปรดติดตามกันต่อไปนะ