วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (Material Requirement Planning; MRP)

การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (Material Requirement Planning; MRP)
  ในการวางแผนความต้องการวัตถุดิบนั้น เป็นการวางแผนการผลิตและควบคุมวัตถุดิบที่อาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย หรือเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการวางแผนความต้องการตามช่วงเวลา (Time Phase Requirement Planning) MRP จะเกี่ยวข้องกับการจัดตารางการผลิต และควบคุมวัสดุคงคลัง โดยทำหน้าที่เป็นกลไกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตารางการผลิต เมื่อมีการทบทวนแผนงานเกิดขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยทำให้การคงคลังมีระดับต่ำสุด และมีวัตถุดิบไว้ใช้อย่างพอเพียงเมื่อต้องการ โดยจุดประสงค์หลักของระบบ MRP มีดังนี้ (พิภพ ลิลตาภรณ์, 2545)
                 1) ทำให้เกิดความมั่นใจว่ามีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ใช้อย่างพอเพียง เช่น วัตถุดิบส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์ที่ได้วางแผนการผลิตไว้ และที่จะต้องจัดส่งให้ลูกค้า
                 2) ทำให้มีการคงไว้ซึ่งระดับการคงคลังในปริมาณที่ต่ำสุดตลอดเวลา
                 3) เพื่อการวางแผนการผลิตตารางการจัดส่งและการจัดซื้อ
          การวางแผนการสั่งและการเปลี่ยนแปลงตารางการสั่งเพื่อรองรับความต้องการในระดับต่ำ สำหรับช่วงของเวลาที่ต้องการนั้น จะเป็นการกำหนดระยะเวลา (Time Period) ที่งานจะต้องเสร็จ (หรือการจัดวัสดุไว้ให้พร้อม) และพร้อมที่จะจัดส่งในรูปของผลิตภัณฑ์สุดท้าย (End Item) ตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในตารางการผลิตหลัก
          ปัจจัยหลักของระบบ MRP จะประกอบไปด้วยตารางการผลิตหลัก (Master Production Schedule), บันทึกการคงคลัง (Inventory Structure Records) และบันทึกโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ (Production Structure Records: MPS) ถ้าปารศจากปัจจับพื้นฐานดังกล่าวนี้แล้ว ระบบ MRP จะไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ในตารางการผลิตหลักและแสดงถึงแผนการผลิตของผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Finish Goods) ในขณะที่บันทึกวัสดุคงคลังจะบอกถึงรายละเอียดทั้งหมดของวัสดุ ส่วนประกอบ หรือส่วนประกอบย่อยที่ต้องการของแต่ละผลิตภัณฑ์สุดท้าย นอกจากนั้นบันทึกการคงคลังจะบอกสถานการณ์ของายการ การคงคลังทั้งที่มีอยู่บนมือ (On Hand) และที่อยู่ในสถานะระหว่างการสั่งซื้อ (On Order)
          อุปสงค์สำหรับผลิตภัณฑ์สุดท้าย จะถูกกำหนดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และจะถูกบันทึกลงในตารางการผลิตหลัก (MPS) ซึ่งในตารางการผลิตหลักจะแสดงถึงปริมาณและเวลาของแต่ละรายการที่ต้องการ การวางแผนสำหรับ MPS ควรจะนานพอที่จะครอบคลุมถึงเวลานำของการจัดหาและการผลิต สำหรับส่วนประกอบ และการประกอบของผลิตภัณฑ์สุดท้าย
          MRP จะเป็นตัวกำหนดรายการที่จะต้องสั่งซื้อ และจำนวนที่ต้องใช้ในช่วงเวลาที่จะมีการผลิตสำหรับรายการสุดท้าย แผนการสั่ง (Order Release) จะระบุถึงปริมาณและเวลา ซึ่งอาจจะเป็นใบสั่งงาน (Work Order) ที่จ่ายออกไปในโรงงานหรือการสั่งซื้อกับผู้จัดจำหน่าย MRP นอกจากจะเป็นเครื่องมือวางแผน และจัดตารางอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ระบบ MRP ยังสามารถทำนายการขาดแคลนหรือส่วนเกินของวัสดุได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
          นอกจากนั้น MRP ยังสามารถทำให้รู้ถึงอุปสงค์และอุปทานที่ไม่สอดคล้องในช่วงเวลาใด ๆ MRP สามารถช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่ต้องการ และเสร็จสิ้นในเวลาเดียวกับวันครบกำหนดส่ง (Due Date) ซึ่งเป็นผลห้าการลงทุนด้านการคงคลังมีค่าใช้จ่ายต่ำ ถ้าในกรณีที่ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการประกอบ จัดหามาได้ไม่ทันตามแผนที่ได้วางไว้ MRP ก็สามารถช่วยจัดตารางความต้องการกับส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ต้องใช้ประกอบร่วมกันให้เปลี่ยนไปอยู่ในวันถัดไป และทำการจัดลำดับตารางงานเสียใหม่
          MRP เป็นวิธีการที่นำมาใช้กับงานประเภทการสร้าง (Fabricate) แบะการประกอบ (Assembly) ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการประกอบจะหมายถึงการรวบรวมเอาชิ้นส่วนต่าง ๆ (Parts) หรือส่วนประกอบย่อย (Subassemblies) มารวมเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นยังมีคำที่คล้ายกันกับการประกอบนั่นก็คือ การประกอบย่อย ซึ่งจะเป็นการประกอบเช่นเดียวกัน แต่อยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป (Higher-level) คำว่า “ส่วนประกอบ” ที่ใชใน MRP จะหมายถึงรายการคงคลังทั้งหมดที่อยู่ต่ำกว่าระดับผลิตภัณฑ์ (Product Level) ซึ่งจะรวมถึงส่วนประกอบย่อย ชิ้นส่วนและวัตถุดิบ (ทั้งที่ผลิตขึ้นเองหรือซื้อจากผู้จัดจำหน่าย) แต่ใน MRP จะพิจารณาเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างการประกอบกับส่วนประกอบเท่านั้น ส่วนคำอื่น ๆ  เช่น การประกอบย่อย ชิ้นส่วนที่สร้างขึ้น ชิ้นส่วนที่ซื้อมา หรือวัตถุดิบ จะถูกรวมอยู่ภายใต้หัวข้อย่อยของส่วนประกอบทั้งสิ้น
          ในรายการวัสดุ จะระบุถึงชื่อรายการต่าง ๆ หรือวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตรายการสุดท้ายหรือผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นยังแสดงถึงลำดับขั้นตอนในการผลิต ตลอดจนปริมาณที่ต้องใช้ในและรายการ เพื่อที่จะนำไปประกอบเป็นรายการหลัก (Parent assembly) รายการต่าง ๆ นั้น ได้แก่ ส่วนประกอบย่อย ชิ้นส่วน และวัตถุดิบ ความถูกต้องของใบรายการวัสดุ เป็นสิ่งจำเป็นในการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด สำหรับรายละเอียดของข้อมูลที่มีอยู่ใน BOM คือหมายเลขชิ้นส่วน ปริมาณที่ต้องการ หน่วยที่ใช้วัด และลักษณะเฉพาะอื่น ๆ MRP จะดำเนินไปไม่ได้ถ้าขาดโครงสร้างของใบรายการวัสดุ ทั้งนี้เพราะไม่อาจจะแปลตารางการผลิตหลักให้เป็นจำนวนความต้องการทั้งหมดในระดับที่ต่ำกว่ารายการสุดท้ายได้
          โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว BOM สำหรับผลิตภัณฑ์จะบอกถึงโครงสร้างโดยแสดงส่วนประกอบทั้งหมดที่จะประกอบเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย โครงสร้างของ BOM จะไม่เพียงแต่กำหนดส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังบอกถึงขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละระดับจะแสดงถึงความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่ง
          วิธีการวางแผนความต้องการวัสดุจะนำไปใช้ในการจัดการของคงคลังและควบคุมปริมาณการผลิตของชิ้นส่วนต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป สำหรับวิธีการควบคุมของคงคลังแบบเดิมจะพิจารณาชิ้นส่วนของแต่ละรายการแยกเป็นอิสระจากกันและจะใช้ระดับการสั่งซื้อใหม่ (Re-order Points) เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าเมื่อไรจึงควรสั่งซื้อ สำหรับการวางแผนความต้องการวัสดุก็เพื่อหลีกเลี่ยงของคงคลังขาดแคลน ซึ่งจะทำให้การผลิตสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นเป็นไปตามแผนและลดต้นทุนในวัตถุดิบและของคงคลังที่เป็นงานระหว่างการผลิต และปัจจุบันการวางแผนสามารถทำได้ง่ายมากขึ้นโดยการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจึงทำให้การวางแผนความต้องการวัสดุ ได้รับความนิยมนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น
          การวางแผนความต้องการวัสดุมีวัตถุประสงค์หลักสองประการคือ คำนวณความต้องการวัสดุ และปฏิบัติตามลำดับก่อนหลังให้เป็นปัจจุบัน
                 1) คำนวณความต้องการวัสดุ เป็นวัตถุประสงค์ของการวางแผนการผลิตและควบคุมการผลิตที่ต้องการ วัสดุที่ถูกต้อง ปริมาณที่ถูกต้อง และเวลาที่ถูกต้อง เพื่อให้วัสดุที่เพียงพอกับการผลิตสินค้าวัตถุประสงค์ของระบบ MRP นี้เป็นการคำนวณหาความต้องการชิ้นส่วนเพื่อผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับตารางการผลิตหลัก และการกำหนดเวลานำจะสามารถคำนวณหาช่วงเวลาที่เป็นไปได้ที่ชิ้นส่วนที่สั่งซื้อหรือสั่งผลิตจะมาส่ง โดยสรุปแล้วจะคำนวณหาสิ่งต่อไปนี้
                        - สั่งซื้ออะไร
                        - สั่งซื้อจำนวนเท่าไร
                        - สั่งชื้อเมื่อไร
                        - กำหนดส่งเมื่อไร
                  2) ปฏิบัติตามความสำคัญให้เป็นปัจจุบัน ความต้องการวัสดุ และการจัดหาชิ้นส่วนมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน ลูกค้าสั่งชื้อหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งชื้อ ชิ้นส่วนถูกใช้มากกว่ากำหนด ผู้ขายส่งของล่าช้า เกิดความเสียหาย ความสมบูรณ์ของคำสั่งชื้อ และเครื่องจักรหยุดทำงาน ในการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในระบบ MRP จะต้องสามารถปรับเปลี่ยนลำดับความสำคัญก่อนหลังเพื่อที่จะทำให้เป็นปัจจุบัน โดยทั่วไปอุปสงค์อิสระมักจะมีลักษณะค่อนข้างคงที่และต่อเนื่องถ้าไม่พิจราณาดัชนีฤดูกาล ส่วนอุปสงค์ตามมักจะลักษณะไม่ต่อเนื่อง คือจะมีความต้องการเป็นช่วงๆ ดังแสดงในภาพที่ การบริหารสินค้าคงเหลือด้วยแบบ EOQ เหมาะกับอุปสงค์อิสระ ส่วน MRP จะเหมาะกับอุปสงค์ตาม



รูปที่ 1 เปรียบเทียบความต้องการที่ไม่ขึ้นอยู่กับวัสดุอื่น และขึ้นอยู่กับวัสดุอื่น


        ระบบ MRP เป็นวิธีการที่เหมาะสมในการหาจำนวนวัสดุ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบ ที่เป็นอุปสงค์ตามเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามจำนวนและเวลาที่กำหนดตามตารางการผลิต ด้วยสาเหตุนี้เองจึงทำให้ระบบ MRP เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการอุตสาหกรรม
          การหาปริมาณของการสั่งซื้ออย่างประหยัด (Economic Order Quantity) และระบบการจัดการเกี่ยวกับของคงคลัง ซึ่งระบบของคงคลัง ระบบหนึ่งที่จะขออ้างถึง คือ ระบบปริมาณการสั่งซื้อคงที่ (Fixed Order Size System) เมื่อ Q คือปริมาณที่สั่งซื้อในแต่ละครั้ง ดังนั้นเมื่อไม่มีการกำหนดของคงคลังสำรอง (Safety Stock) ปริมาณ Q ก็คือ ปริมาณของคงคลังสูงสุดและจุดการสั่งซื้อจะพิจารณา เมื่อของในคลังตกลงมาถึงระดับของการสั่งซื้อใหม่ที่ได้คำนวณไว้สถานการณ์ ดังกล่าวอยู่ภายใต้ ข้อสมมติฐานที่ว่า อัตราการใช้ของคงคลังเป็นไปอย่างคงที่และสม่ำเสมอตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริงความต้องการจะเกิดขึ้นเป็นช่วงไม่สม่ำเสมอ วิธีการที่ดีกว่า คือ การสั่งให้เท่ากับปริมาณที่ต้องการจริง และการสั่งนั้นจะต้องทำให้ของคงคลังส่งทันเวลากับความต้องการที่เกิดขึ้น ซึ่งแนวความคิดที่กล่าวมานี้ นับได้ว่าเป็นหัวใจของการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (MRP) ในขั้นต่อไป จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการบริหารของคงคลังตามระบบปริมาณการสั่งซื้อคงที่หรือระบบจุดสั่งซื้อ และระบบ MRP โดยแสดงให้เห็นดังตารางที่ 1



ตารางที่ 1 ความแตกต่างระหว่างระบบการวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP) และระบบจุดสั่งซื้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น