รูปแบบการชำระเงินเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการของมนุษย์ได้มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันแม้เงินสดและเช็คยังคงมีการใช้อย่างแพร่หลายแต่ก็ถูกทดแทนด้วย “การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์” (electronic payments) หรือ “e-payments” มากขึ้น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในการซื้อสินค้าและบริการมาสักช่วงใหญ่ๆ แล้ว ยังมีการโอนเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ เพื่อชำระเงินแก่คู่ค้าหรือจ่ายเงินเดือนแก่พนักงาน
“การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์” ช่วยลดต้นทุน
เงินสดและเช็คมีต้นทุนการจัดการที่สูงมาก โดยเฉพาะเงินสด มีต้นทุนจากขั้นตอนการผลิตที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อป้องกันการปลอมแปลง จนกระทั่งถึงมือประชาชนมันจะต้องผ่านกระบวนการนับ คัดแยก ขนส่ง จัดเก็บ จนถึงการส่งธนบัตรที่เสื่อมสภาพกลับมาทำลายที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังต้องมีค่าประกันความเสียหายจากการสูญหาย โดยจะมีสามฝ่ายที่แบกรับภาระต้นทุนไว้มากที่สุด คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยเพราะเป็นผู้ผลิตและกระจายธนบัตรสู่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ในฐานะผู้กระจายธนบัตรถึงมือประชาชนผ่านช่องทางสาขาและเครื่องเอทีเอ็ม และกลุ่มร้านค้าที่จ่ายและรับเงินสด สำหรับประชาชนจะมีค่าใช้จ่ายทางอ้อมผ่านทางค่าสินค้าและบริการ หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ของธนาคารพาณิชย์
สำหรับการชำระเงินด้วยเช็ค ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ ไทยเมื่อไม่นานนี้พบว่า ภาคธุรกิจมีต้นทุนในการใช้เช็คเฉลี่ยต่อฉบับสูงถึง 88.6 บาทเลยครับ ประกอบด้วย ค่าใบเช็ค ค่าเวลา และเงินเดือนของพนักงาน และผู้บริหารที่เป็นผู้ลงนามบนเช็ค ในขณะที่การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทดแทนเช็คได้มีต้นทุนเฉลี่ยต่อรายการเพียง 28.2 บาท และจากข้อมูลในหลายๆ ประเทศบอกมาว่า e-payments ช่วยลดค่าใช้จ่ายของประเทศโดยรวมได้ไม่น้อยกว่า 1% ของ GDP ต่อปี ตรงนี้ทำให้ไม่ต้องสงสัยเลยนะครับว่าทำไมรัฐบาลในหลายประเทศ จึงได้กำหนดนโยบายให้มีการใช้ epayments เพื่อทดแทนเงินสดและเช็คมากขึ้น
“การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสในการทำธุรกิจ
จากการที่เงินสดและเช็คเป็นการทำธุรกรรมที่คู่ค้าต้องมาพบหน้ากัน (face to face transaction) จึงเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ e-commerce ในขณะที่ e-payments ช่วยให้คู่ค้าที่อยู่ห่างกันสามารถชำระเงินระหว่างกันได้ มีข้อมูลของบริษัท Global Insight พบว่าการขยายตัวของ e-payments ในอเมริกาได้ช่วยทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นถึง 6.5 ล้านล้านดอลลาร์ ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาและสามารถสร้างงานใหม่ให้ชาวอเมริกันได้ถึง 1.3 ล้านตำแหน่ง นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจระหว่างประเทศได้อีกด้วย เห็นไหมครับว่ามันช่วยเพิ่มโอกาสอย่างมากเลยจริงๆ
“การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์” เพิ่มความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงิน
เพราะเงินสดเป็นสื่อการชำระเงินที่ไม่สามารถบ่งบอกตัวตนของผู้ใช้ได้ จึงยากแก่การควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายรวมถึงมักถูก ใช้เพื่อกิจกรรมที่ผิดกฎหมายต่างๆ อย่างการทุจริตคอรัปชั่น และธุรกิจผิดกฎหมายต่างๆ เป็น ต้น e-payments จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่กล่าวได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐ ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดอีกอย่างคือ การช่วยแก้ปัญหาการหลบเลี่ยงการชำระภาษี ทำให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยได้มากขึ้นด้วยครับ
ขณะนี้หลาย ประเทศได้พยายามขับเคลื่อนระบบการชำระเงินที่เขาใช้ศัพท์ว่า “ก้าวพ้นการพึ่งพาเงินสดและเช็ค” ไปสู่ยุคของ e-payments สำหรับประเทศไทยเราก็มีการจัดทำ “แผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน 2553″ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย กลุ่มธนาคารพาณิชย์ หน่วยงานภาครัฐและธุรกิจที่ใช้บริการชำระเงิน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการชำระเงิน โดยเขามีเป้าหมายหลักเพื่อผลักดันให้มีการใช้ e-payments ในประเทศมากขึ้นครับ ตรงนี้จะมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น และการปรับให้ค่าธรรมเนียมของ e-payments ลดลง เพื่อจูงใจให้มีการใช้มากขึ้น
การหันมาใช้ e-payments แทนการใช้เงินสดและเช็คก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจต่างควรหาข้อมูลเกี่ยวกับบริการของธนาคารพาณิชย์ รวมถึงค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขอื่นๆ อย่างเช่น ระยะเวลาที่หักเงินจากบัญชี หรือนำเงินเข้าบัญชี เป็นต้น และยิ่งกว่านั้นการหาข้อมูลจากหลายธนาคารเปรียบเทียบกัน เพราะทำให้สามารถเลือกใช้บริการที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพในการทำธุรกิจได้ ในส่วนของประชาชนที่จัดเป็นผู้บริโภคเอง การหันมาใช้บัตรเดบิต บัตรเครดิต และการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เงินสดจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและลดความเสี่ยงจากการถือเงินสดจำนวนมากได้เป็นอย่างดีด้วย

Sage Accpac - ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR)

ระบบบัญชีลูกหนี้ ( Account Payable) ของ Sage Accpac ERP เชื่อมโยงกับระบบงานขาย ( OE ) และ ระบบบัญชี ( GL )รองรับการจัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่เกิดจากการรับ เช่น ใบแจ้งหนี้ (Invoice) ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) รวมทั้งบันทึกลูกหนี้ประเภทต่างๆ ทั้งการขายสินค้าหรือบริการ ทั้งขายสด,ขายเชื่อ,การรับเงินมัดจำ และการขายเป็นสัญญาระยะยาวๆ ส่วนของการรับชำระเงินทำได้ทั้งส่วนที่เป็นเงินสด เช็ค และการโอนเงินผ่านธนาคารโดยตรง สามารถรองรับการวางบิล ภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งขายสินค้าและขายบริการ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เช็คลงวันที่รับล่วงหน้า การขายในสกุลเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น รายงานในระบบงานจะช่วยทำให้คุณสามารถบริหารลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยในการจัดการเกี่ยวกับ ข้อมูลต่างๆของลูกหนี้ เช่น วงเงินเครดิต ( Credit Limti ),เงื่อนไขการชำระเงิน (Terms Payment ), ข้อกำหนดเกี่ยวกับการขายสินค้าต่างๆ ช่วยให้ทราบถึงสถานะของ หนี้สิน ( Status ) ที่มีอยู่กับ ลูกหนี้ แต่ละรายแสดงในส่วนประวัติการขายสินค้าและสามารถนำข้อมูลที่ได้มาทำการเปรียบเทียบวิเคราะห์อายุลูกหนี้(Aging)แต่ละรายเพื่อนำใช้ในการบริหารจัดการลูกหนี้ และเหมาะสมสำหรับผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ของบริษัท


Accpac AR Receipt Screen
accpac AR Receipt




คุณสมบัติระบบลูกหนี้

  • สามารถกำหนดรหัสบัญชีในการจำแนกกลุ่มของลูกหนี้ (Control Account) ได้ไม่จำกัดจำนวน
  • สามารถกำหนดรหัสสินค้า (Items) ในการออก Invoice กรณีที่ไม่ได้ใช้ระบบ Inventory Control
    รวมถึงสามารถดูประวัติการขายได้ด้วย
  • สามารถสร้าง Template เพื่อการบันทึกบัญชีที่รวดเร็ว (Distribution Code)
  • ฟรี Option Customer Number Changeในกรณีที่ระบบอาจมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ
    รหัสลูกหนี้ในอนาคต
  • สามารถนำข้อมูลเข้า หรือออกจากระบบลูกหนี้ได้โดยวิธีการ Import-Export โดยมี Format Field ที่ไม่ซับซ้อน
    รายงานทุกตัวสามารถ Export เป็นไฟล์รูปแบบต่างๆ ได้ เช่น Excel, Pdf ฯลฯ
  • เก็บรายละเอียดประวัติข้อมูลสถิติต่างๆ ตามกลุ่มลูกค้า (Customer Statistics) ที่เป็นบริษัทที่มีสาขา และบริษัทในเครือหลายแห่ง
    หรือตามลูกค้าแต่ละราย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ และจัดพิมพ์รายงาน
  • ช่วยในการจัดการข้อมูลลูกหนี้ที่เกี่ยวกับยอดค้างชำระต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • กำหนดเงื่อนไขการรับชำระเงิน ( Condition ), ส่วนลด( Discount ), และวงเงินสูงสุดให้แก่ลูกค้าได้ตามต้องการ
  • สามารถบันทึกรายการได้หลายสกุลเงิน (เฉพาะมี Option Multi Currency)
  • กรณีบันทึกรายการลูกหนี้ต่างประเทศ สามารถดูประวัติรายงานต่าง ๆ ได้ทั้งสกุลเงินบาท (Functional Currency)
    และสกุลเงินต่างประเทศ (Source Currency)และบันทึกกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลก
    เปลี่ยนรวมทั้งปรับมูลค่าหนี้ตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นงวดให้โดยอัตโนมัติ
  • สามารถโอนรายการบัญชีที่ระบบลูกหนี้ไปยังระบบบัญชีแยกประเภท (GL)
  • สามารถ Drill Down (ย้อนดูที่มาของเอกสาร) เพื่อดูข้อมูลจากระบบบัญชีแยกประเภท กลับไปยังระบบลูกหนี้
    และจากระบบลูกหนี้ไปยังระบบขายสินค้า (Order Entry) ได้
  • สามารถควบคุมในเรื่อง Credit Limit
  • จัดพิมพ์ใบกำกับสินค้า (Invoice) ,ใบแจ้งหนี้, ใบเพิ่มหนี้, ใบลดหนี้, Statements
    และจดหมายเพื่อเร่งรัดการจ่ายหนี้ออกจากระบบได้ในรูปแบบตามต้องการ
  • สามารถสั่งพิมพ์ Invoice ที่ได้สั่งพิมพ์ไปแล้วได้ใหม่ (Reprint)
  • สามารถพิมพ์รายงานวิเคราะห์ต่างๆ ได้แก่ รายงานลูกหนี้คงเหลือ, รายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้, รายงาน Posting
    Journal เพื่อช่วยในการบริหารลูกหนี้ได้
  • ระบบลูกหนี้จะควบคุมความปลอดภัยของระบบ เช่น ไม่สามารถลบลูกหนี้ในรายที่ยังมียอดคงเหลือ,
    ไม่สามารถผ่านรายการของใบกำกับสินค้าที่มีเลขที่เอกสารซ้ำกันของลูกหนี้รายเดียวกัน
  • ทำการ Drill Down เพื่อดูประวัติรายการของ Invoice, Payment , Adjustment จาก GL Transaction History
    ในระบบบัญชีแยกประเภท (GL) ได้ เมื่อเลือกคำสั่ง Keep History ใน Option ของระบบลูกหนี้
  • สามารถแก้ไขรายงาน และแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มาตรฐานโปรแกรมให้มาได้ตามต้องการ ด้วยโปรแกรม Crystal Report